globe-image
th
down-chevron
ภาคธุรกิจอาหารเครื่องดื่มจะหาพนักงานที่มีคุณภาพได้อย่างไร?

ภาคธุรกิจอาหารเครื่องดื่มจะหาพนักงานที่มีคุณภาพได้อย่างไร?

Workmate Team
13 Dec 2021
แชร์บทความนี้
Facebook Icon
Twitter Icon
LinkedIn Icon

ภาคงานอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) เป็นอุตสาหกรรมหลักอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ถึงกระนั้นก็ตาม  เจ้าของร้านจำนวนมากประสบกับปัญหาจากการไม่รู้วิธีสร้างทีมงานที่ดีหรือวิธีสรรหาพนักงานที่เหมาะสมกับธุรกิจของตน

ในธุรกิจร้านอาหาร  การทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานเสิร์ฟอาหารที่คอยทักทายและรับออเดอร์จากลูกค้า พนักงานในครัวที่ทำหน้าที่ส่งมอบอาหารที่มีคุณภาพ พนักงานแคชเชียร์ที่จัดการเรื่องชำระเงินอย่างรวดเร็ว หรือแม้กระทั่งผู้จัดการร้านอาหารที่จัดการให้การดำเนินงานราบรื่นระหว่างพนักงานหน้าร้านและหลังร้าน พนักงานทั้งหมดนี้มีบทบาทในการส่งมอบประสบการณ์อันยอดเยี่ยมในการรับประทานอาหาร

นอกจากนี้ คุณควรมีเป้าหมายในการจัดจำนวนพนักงานให้เหมาะสมกับที่ต้องการ เพื่อให้ได้รับอัตรากำไร (profit margin) ที่ดีที่สุด สิ่งสำคัญคือการค้นหาสมดุลเพราะการมีพนักงานน้อยเกินไปจะทำให้ขาดโอกาสและการบริการที่ไม่เต็มที่ ในขณะที่การมีพนักงานมากเกินไปส่งผลกระทบต่ออัตรากำไรของคุณเอง 

บทบาทต่างๆ ของพนักงานในร้านอาหาร

พนักงานในร้านอาหารจัดออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. พนักงานหน้าร้าน (FOH)
2. พนักงานหลังร้าน (BOH)

พนักงานหน้าร้าน (Front-of-House (FOH) Employees) พนักงาน FOH หมายถึงพนักงานร้านอาหารที่มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับแขกของร้าน ดังนั้น พนักงาน FOH จึงควรมีทักษะการสื่อสารและการสังเกตที่ดี และเป็นเสมือนกับทูตของแบรนด์ร้านอาหาร ตำแหน่งพนักงาน FOH ประกอบด้วยพนักงานเสิร์ฟ แคชเชียร์ พนักงานต้อนรับหน้าร้านและพนักงานส่งอาหารนอกสถานที่ 

  1. พนักงานเสิร์ฟ (waiters)
    พนักงานเสิร์ฟคือจุดแรกที่พบกับลูกค้า พร้อมทั้งทำหน้าที่เสิร์ฟอาหารและประสานงานกับพนักงานหลังร้าน (BOH) ตัวอย่างเช่น พนักงานเสิร์ฟทำหน้าที่ทักทายลูกค้าและรับออเดอร์ด้วยท่าทางที่เป็นมิตรและทันเวลาก่อนที่จะส่งออเดอร์ไปในครัว เพราะพนักงานเสิร์ฟทำงานหน้าร้าน พนักงานเสิร์ฟจึงรับผิดชอบในการรับและตอบสนองต่อคำติชมจากลูกค้า รวมทั้งแก้ไขการบริการให้เหมาะสมด้วยในกรณีที่จำเป็น นอกจากนี้ พนักงานเสิร์ฟยังมีหน้าที่จัดการเรื่องความสะอาดของโต๊ะอาหารและจัดเก็บให้เรียบร้อยหลังลูกค้าออกจากร้านไปแล้ว 
  2. พนักงานแคชเชียร์ (cashiers)
    พนักงานแคชเชียร์คล้ายกับพนักงานเสิร์ฟตรงที่ต้องปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับลูกค้า แต่งานหลักของพนักงานแคชเชียร์คือการจัดการเกี่ยวกับการชำระเงินจากลูกค้า นอกจากนี้ พนักงานแคชเชียร์ยังมีหน้าที่สรุปงานธุรกรรมของร้านค้าหลังจบวันทำงานและทำบัญชีการชำระเงินให้แม่นยำสอดคล้องกับจำนวนเงิน หากพบข้อขัดแย้ง พนักงานแคชเชียร์ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ตำแหน่งพนักงานแคชเชียร์มักทำงานเป็นกะ หรือกำหนดเป็นชั่วโมงเฉพาะสำหรับการทำงานของพนักงานแคชเชียร์ที่จะต้องดูแลเคาเตอร์และไม่ปล่อยให้เครื่องบันทึกเงินสดทิ้งไว้โดยขาดคนดูแล 
  3. พนักงานต้อนรับหน้าร้าน (host / hostess)
    พนักงานต้อนรับเป็นพนักงานสำคัญอีกประเภทหนึ่งที่พบกับลูกค้า และมักเป็นจุดแรกในการพบกับลูกค้า พนักงานต้อนรับทำหน้าที่ทักทายลูกค้าที่คอยอยู่นอกร้าน รับโทรศัพท์ รับออเดอร์และการจองโต๊ะทางโทรศัพท์ พนักงานต้อนรับทำหน้าที่ควบคู่ไปกับพนักงานเสิร์ฟเพื่อให้บริการอันยอดเยี่ยมแก่ลูกค้า บางครั้ง บทบาททั้งสองนี้อาจทำงานซ้อนกันอย่างเช่น การต้อนรับแขกและดูแลเกี่ยวกับคำติชมของลูกค้าในลักษณะที่น่าพึงพอใจ 
  4. พนักงานส่งอาหารนอกสถานที่ (food delivery)
    บริการส่งอาหารนอกสถานที่หรือฟู้ดเดลิเวอร์รี่ได้รับความนิยมมากในช่วงที่เกิดโรคระบาด ร้านอาหารจำนวนมากเพิ่มจำนวนพนักงานส่งอาหารแบบเดลิเวอร์รี่ บทบาทของพนักงานส่งอาหารเป็นคล้ายกับบทบาททางโลจิสติกส์ แต่พนักงานฟู้ดเดลิเวอร์รี่จัดเป็นพนักงานหน้าร้าน FOB นอกจากการรับผิดชอบในการบรรจุอาหารเดลิเวอร์รี่และจัดใส่ยานพาหนะแล้ว พนักงานเดลิเวอร์รี่ทำหน้าที่ส่งมอบอาหารให้ทันเวลาอีกด้วย หากเกิดเรื่องใดๆ ขึ้นระหว่างการขนส่ง พนักงานเดลิเวอร์รี่จะต้องสื่อสารให้ลูกค้าทราบโดยเร็วและคอยแจ้งข้อมูลปัจจุบันที่เกิดจากความล่าช้า ในกรณีที่เกิดความล่าช้า 

พนักงานหลังร้าน (Back-of-House (BOH) Employees) ตำแหน่งพนักงาน BOH ประกอบด้วย พนักงานทำอาหาร พนักงานบาริสต้า และพนักงานล้างจาน

  1. พนักงานทำอาหารและพนักงานในครัว (cooks and kitchen staff)
    หน้าที่ของพนักงานทำอาหารคือการเตรียมอาหารตามที่ลูกค้าสั่ง ร้านอาหารส่วนใหญ่มักมีหัวหน้าพ่อครัว/แม่ครัวคอยกำกับดูแลทีมทำอาหารและพนักงานในครัว หัวหน้าพ่อครัว/แม่ครัวมีอำนาจในการตัดสินใจงานในครัวและดูแลให้การเตรียมอาหารเป็นไปตามมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ 
  2. พนักงานบาริสต้า (barista)
    หลายคนคิดว่าพนักงานบาริสต้าคือพนักงานชงกาแฟ อย่างไรก็ตาม ขอบข่ายของบาริสต้ากว้างกว่านั้นซึ่งรวมถึงรายการกาแฟ ชา น้ำผลไม้และเครื่องดื่มต่างๆ อย่างเช่น ช็อคโคแลตหรือม็อคเทล หน้าที่หลักของพนักงานบาริสต้าคือการปรุงเครื่องดื่มและทำความสะอาดโต๊ะ (bar table) 
  3. พนักงานล้างจาน (dishwasher)
    พนักงานล้างจานทำหน้าที่ทำความสะอาดและดูแลรักษาอุปกรณ์และเครื่องใช้สอยในครัว รวมทั้งรักษาความสะอาดเรียบร้อยของพื้นที่จัดเก็บอุปกรณ์และเครื่องใช้สอยเหล่านี้ด้วย

ประเภทของร้านอาหาร

การจ้างพนักงานประเภทต่างๆ ขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร ร้านอาหารของคุณเป็นแบบหรูหราหรือแบบลำลอง

  1. ร้านอาหารแบบหรูหรา (fine dining restaurants)
    ร้านอาหารขนาดใหญ่ที่มีพนักงานชำนาญงานพิเศษอย่างเช่น ซอมเมอลิเยร์ (sommerlier) เพื่อแนะนำและบริการเสิร์ฟไวน์และเชฟครัวเย็น (Chef Garde Manager) หรือเชฟขนมอบ (Pantry Chef) เพื่อดูแลการปรุงอาหารและขนมหวานจำพวกสลัด ชีสและอื่นๆ 
  2. ร้านอาหารแบบลำลองหรือระดับกลาง (casual restaurants)
    ร้านอาหารแบบลำลองหรือระดับกลางมีความสมบูรณ์แบบน้อยลงแต่เน้นเรื่องความเร็วมากขึ้น อัตราการขายอาหารสูงและพนักงานต้องเตรียมอาหารและเสิร์ฟอาหารอย่างรวดเร็ว ราคาขายย่อมเยาว์กว่าและเน้นคุณภาพการบริการที่น้อยกว่าร้านอาหารแบบหรูหรา
  3. คาเฟ่ (cafe)
    คาเฟ่เป็นร้านอาหารขนาดเล็กลงมาที่มีพนักงานน้อยลงเพื่อทำหน้าที่หลายบทบาท ตัวอย่างเช่น พนักงานเสิร์ฟอาจทำหน้าที่ควบกันในตำแหน่งพนักงานต้อนรับหรือพนักงานส่งอาหารแบบเดลิเวอร์รี่
  4. ร้านอาหารจานด่วนหรือฟาสต์ฟู้ด (fast food restaurants)
    ร้านอาหารจานด่วนหรือฟาสต์ฟู้ดแบ่งเขตพนักงานในการให้บริการตามโซนต่างๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มักกำหนดให้พนักงานทีมหนึ่งรับออเดอร์และชำระเงินที่เคาน์เตอร์ อีกทีมหนึ่งเตรียมอาหารในครัวหรือในบริเวณจัดเตรียมอาหารตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) และมีอีกทีมหนึ่งนำอาหารตามที่สั่งส่งมอบให้กับลูกค้า 

วิธีสรรหาพนักงานที่เหมาะสมกับร้านอาหาร

งานท้าทายที่สุดในการสรรหาพนักงานร้านอาหารคือการแสวงหาพนักงานที่มีทักษะความชำนาญในงาน

พนักงานหน้าร้าน FOH อย่างเช่น พนักงานเสิร์ฟ พนักงานต้อนรับ และพนักงานแคชเชียร์ที่มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรงจำเป็นต้องมีทักษะการสื่อสารที่ดี มิฉะนั้น ลูกค้าอาจได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีและเลือกที่จะไม่ย้อนกลับมาใช้บริการอีกซึ่งสร้างผลกระทบต่อยอดขาย

ส่วนพนักงานหลังร้าน BOH อย่างเช่น กุ๊กและพนักงานในครัวต้องมีทักษะความชำนาญในการจัดเตรียมและปรุงอาหาร พนักงานล้างจานจำเป็นต้องละเอียดถี่ถ้วนเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการอนามัย 

นอกจากทักษะความชำนาญแล้ว ทัศนคติของพนักงานยังเป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การสรรหาพนักงานที่รับผิดชอบที่มีลักษณะตรงกับงาน ในการสรรหาพนักงานคุณภาพนั้น ร้านอาหารมักยอมเสียค่าใช้จ่ายให้กับการบริการสรรหาพนักงานออนไลน์ การฝึกอบรมพนักงานและการใช้ซอฟแวร์เพื่อจัดการเกี่ยวกับพนักงานของตน

ในกรณีดังกล่าวนี้เราได้ประมวลคำแนะนำในการจ้างพนักงานคุณภาพอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

  1. ให้ความสำคัญกับความภักดีในงานมากกว่าประสบการณ์ พิจารณาพนักงานที่มีประวัติการทำงานระยะยาวกับที่ทำงานเดิมถึงแม้ว่าจะไม่มีประสบการณ์มากนักเกี่ยวกับตำแหน่งงานที่รับก็ตาม ถ้าผู้สมัครเคยทำงานที่เดิมน้อยกว่าหนึ่งปี ให้ตรวจสอบว่าเคยเปลี่ยนงานบ่อยหรือไม่? ออกจากที่ทำงานเดิมเพราะมีปัญหาด้านการทำงานหรือไม่? เป็นคนที่เปลี่ยนงานบ่อยเพราะเบื่อง่ายใช่หรือไม่?
  2. มีความโปร่งใสเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมการทำงาน การทำงานด้านอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) เป็นเรื่องทรหด ควรบอกความจริงเกี่ยวกับลักษณะงานและสิ่งที่คาดหวังในการปฏิบัติงานเพื่อให้ผู้สมัครงานพิจารณาว่างานนั้นเหมาะสมกับตนเองหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ร้านอาหารต้องการให้พนักงานคนหนึ่งทำหน้าที่มากกว่า 1 หน้าที่ ซึ่งควรต้องบอกให้ผู้สมัครงานรู้ล่วงหน้าเพื่อตัดสินใจ 
  3. แสวงหาพนักงานที่มีค่านิยมเหมาะสม ในขณะที่การจ้างพนักงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ แต่ยังมีสิ่งที่สำคัญกว่าคือการจ้างพนักงานที่มีค่านิยมเหมือนกับคุณ ต้องมั่นใจว่าผู้สมัครงานมีทักษะ ทัศนคติและพฤติกรรมเป็นไปตามค่านิยมของร้านคุณ โดยพิจารณาจากการสัมภาษณ์หรือการทดสอบบุคลิกภาพเพื่อแสดงคะแนนความเหมาะสมของผู้สมัครงาน 

    กลยุทธ์การสรรหาพนักงานในร้านอาหาร มีหลายวิธีที่จะสรรหาพนักงานในร้านอาหาร
  • ใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัว ขอให้คนรู้จักช่วยแนะนำพนักงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสมซึ่งอาจเป็นคนในครอบครัว เพื่อนและเพื่อนร่วมงานของเขา วิธีนี้จะช่วยให้เจ้าของร้านคนใหม่สร้างทีมงานที่ดีได้
  • ใช้ประโยชน์จากกลุ่มชุมชน กลุ่มชุมชนในโซเชียลมีเดียหรือออนไลน์ฟอรัมเป็นอีกวิธีหนึ่งที่คุณจะค้นหาผู้สมัครงานที่เหมาะสมได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งท้าทายประการหนึ่งคือคุณอาจได้รับข้อความมากมายจากผู้แสวงหางานและมักไม่เหมาะกับทักษะและทำเลที่ตั้งของร้าน 
  • คำรับรอง/แนะนำจากพนักงานเก่า วิธีนี้เหมาะกับร้านอาหารที่เปิดกิจการมานานและรู้จักคนในวงการจนสามารถไว้วางใจได้ว่าคนเหล่านั้นจะรับรองคุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสมกับตำแหน่ง 
  • การใช้เทคโนโลยี เว็บรับสมัครงานออนไลน์อย่างเช่น Workmate อาจนำมาใช้ในการค้นหาพนักงานที่ต้องการ โดยเฉพาะกับแพลตฟอร์มการจัดการด้านพนักงานอย่าง Workmate มักมีวิธีการหลายแบบตามความต้องการด้านทรัพยากรมนุษย์ (HR) ของคุณเพราะ Workmate ใช้ AI เพื่อค้นหารายการ การจ้างงานและการจัดการพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ คุณอาจใช้แพลตฟอร์มเดียวกันนี้ในการทำสัญญา จัดตารางงานและการจ่ายเงินเดือนได้อีกด้วย

วิธีจัดการกับอัตราการลาออกของพนักงานในร้านอาหาร


จากการศึกษาวิจัยของ Linkedin อุตสาหกรรมอาหารจัดเป็นภาคธุรกิจที่มีอัตราการลาออกของพนักงานสูงที่สุดคือ 17.2% ในภาคการค้าปลีกและผลิตภัณฑ์ผู้บริโภค โดยเฉลี่ยแล้ว พนักงานในร้านอาหารลาออกภายใน 1 ปีของการจ้างงาน ไม่น่าแปลกใจที่อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) จะประสบปัญหาการลาออกของพนักงานและต้องแสวงหาพนักงานใหม่ มีหลายเหตุผลที่พนักงานในร้านอาหารลาออก ดังนี้

1. สภาพแวดล้อมการทำงานมีความกดดันสูง พนักงานในร้านอาหารต้องทำงานยาวนานในสภาพแวดล้อมที่เร่งรีบโดยเฉพาะในช่วงพีคของเวลาทานอาหารกลางวันและอาหารเย็น การขาดสายงานและโครงสร้างพื้นฐานอย่างเป็นระบบและเหมาะสมอาจเป็นต้นเหตุของความเครียดในบรรยากาศการทำงานที่ตึงเครียด 

2. ขาดความก้าวหน้าในอาชีพ พนักงานหลายคนลาออกเมื่อรู้สึกว่าบริษัทไม่ช่วยตนเองให้พัฒนาทักษะความสามารถ ถ้าค่าจ้างต่ำกว่าอัตราในตลาด คนเหล่านี้ก็มักจะหาโอกาสที่จะไปทำงานที่อื่นที่ให้เงินเดือนสูงกว่า

3. เทคโนโลยีล้าสมัย คุณจำเป็นต้องจัดหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้กับพนักงานเพื่อช่วยให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานของตนได้ดี แทนที่จะใช้อุปกรณ์เก่าๆ ที่ทำให้การปฏิบัติงานติดขัด คุณควรใช้ระบบเชื่อมงานครัวและจุดขาย (POS) ที่เหมาะสมเพื่อขับเคลื่อนการปฏิบัติงานในร้านอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ

4. แนวปฏิบัติการทำงานที่เข้มงวดเกินไป การกำหนดกฎเกณฑ์มากมายและความเจ้าระเบียบของเจ้าของร้านมักเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้พนักงานลาออก

5. สไตล์การบริหารจัดการและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลไม่ดี การพิจารณาผลการปฏิบัติงานของพนักงานใช้วิธีการที่เหมาะสมหรือไม่? และมีการสื่อสารวิธีการเหล่านั้นให้พนักงานรับรู้หรือไม่? สิ่งสำคัญคือผู้จัดการร้านควรบอกให้ทีมงานได้รับรู้ นอกจากนี้ วิธีสื่อสารกับพนักงานควรเป็นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเมื่อผลการปฏิบัติงานของเขาไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง

การจัดการกับอัตราการลาออกของพนักงานมี 4 วิธีเพื่อลดการลาออกของพนักงาน

  1. จัดทำโครงการสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม สร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานและแสดงเหตุผลที่พนักงานควรทำงานต่อไปกับร้านอาหาร ตัวอย่างเช่น การให้โบนัสกับพนักงานเมื่อร้านอาหารดำเนินกิจการได้ดีหรือการให้โบนัสกับพนักงานที่ปฏิบัติงานยอดเยี่ยมที่สุดในแต่ละเดือน 
  2. สร้างความประทับใจกับพนักงาน สร้างวัฒนธรรมความประทับใจระหว่างกัน สร้างแรงจูงใจพนักงานและแสดงให้พนักงานเห็นว่าคุณเอาใจใส่พวกเขา สิ่งนี้จะช่วยเพิ่มผลิตภาพมากขึ้นด้วย 
  3. มีความยืดหยุ่นผ่อนปรน แบ่งหน้าที่การทำงานตามที่จำเป็นและให้พนักงานได้มีเวลาพักผ่อนอย่างเพียงพอด้วยการจัดสายงานและตารางการทำงานที่เป็นระเบียบ ถ้าพนักงานต้องการลางานด้วยเหตุผลอันสมควรหรือต้องการเปลี่ยนหน้าที่การทำงาน ควรผ่อนปรนให้เขาได้ทำเช่นนั้นหากไม่กระทบต่อการปฏิบัติงาน
  4. สร้างความสัมพันธ์ในทีมงาน จัดการสังสรรค์นอกสถานที่ให้กับทีมงานนอกเวลางานเพื่อให้เจ้าของร้าน ผู้จัดการร้านและพนักงานได้ทำความรู้จักกันและกันได้ดีขึ้นในสภาวะที่เป็นกันเอง 

ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ (HR) มักประสบปัญหามากมายจากการสรรหาและรักษาพนักงาน แทนที่จะยึดติดกับวิธีเดิมๆ เจ้าหน้าที่ HR อาจใช้วิธีใหม่ๆ เพื่อสรรหาพนักงานที่มีคุณภาพที่เหมาะสมกับความต้องการขององค์กร ไม่ว่าคุณจะตัดสินใจเลือกใช้วิธีใดก็ตาม สิ่งสำคัญคือคุณควรเน้นการสรรหาพนักงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับงานและลดการลาออกของพนักงานโดยใช้คำแนะนำด้านการบริหารจัดการดังกล่าวข้างต้นเพื่อสร้างทีมงานที่แข็งแรง 

ด้วยเหตุนี้ Workmate จึงรวบรวมลักษณะต่างๆ ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ไว้ในแพลตฟอร์มซึ่งประกอบด้วยโปรแกรมโซลูชันเกี่ยวกับการเข้าปฏิบัติงานและตารางสลับการเข้ากะงานเพื่อให้คุณพุ่งความสนใจไปในเรื่องที่สำคัญ

โซลูชันการสรรหาพนักงานในร้านอาหารจาก Workmate

  หากใช้โปรแกรมโซลูชันจาก Workmate คุณจะสามารถบริหารจัดการพนักงานในร้านอาหารได้ดีขึ้นและลดปัญหาดังต่อไปนี้
- ปัญหาการสรรหาพนักงานที่ไร้ประสิทธิภาพและใช้เวลานานในการค้นหา คัดเลือกหรือสัมภาษณ์ผู้สมัครงาน
- ปัญหาการสรรหาพนักงานที่ขาดประสบการณ์หรือไม่มีจรรยาบรรณการทำงานที่เหมาะสม
- ปัญหาพนักงานไม่เข้าปฏิบัติงานในวันแรกของการทำงาน

  Workmate ช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้ด้วยการจับคู่ความต้องการของคุณกับพนักงานที่มีประสบการณ์และมีคุณสมบัติตรงตามที่คุณต้องการทั้งในด้านประสบการณ์ ทักษะและความใกล้ของที่พักอาศัยกับสถานที่ทำงาน นับเป็นโปรแกรมการสรรหาพนักงานแบบสมาร์ทที่ใช้ข้อมูลจับคู่ความต้องการของคุณกับพนักงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสม นอกจากนี้ ยังช่วยย่นเวลาในการสัมภาษณ์โดยผ่านโปรแกรมแชทเพื่อคุณพูดคุยกับผู้สมัครงานบนแพลตฟอร์มและติดต่อกับพนักงานที่ต้องการได้ในทันที

หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรา ให้เยี่ยมชมได้ที่เว็บไซด์ www.workmate.asia ทดลองใช้โปรแกรมด้วยตัวคุณเองโดยลงทะเบียนบัญชีธุรกิจฟรี ที่นี่

บทความสำหรับ:
แชร์บทความนี้
Facebook Icon
Twitter Icon
LinkedIn Icon
Subscribe to our Blog
We will send you updates on new, relevant articles that can help your business!